playinone.com
รีวิว บทความ หนัง ซีรีส์ Netflix สตรีมมิ่งทุกระบบ

The Prince of Tennis : Match! Tennis Juniors รีวิว (ฉบับ 2019 Netflix)

สรุป

สนุกเกินคาดสำหรับแฟนๆ Prince of Tennis สำหรับแฟน ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส เอาไป 8.5/10 เลย แต่อาจจะไม่สนุกสำหรับคนที่ไม่ได้อ่านการ์ตูนมาก่อน

Overall
7/10
7/10
Sending
User Review
20 (5 votes)
Comments Rating 0 (0 reviews)

Pros

  • ได้อารมณ์มังงะมาก หายคิดถึงเลย
  • ตัดสินใจเรื่องหน้าตาตัวละครได้ดี
  • นักแสดง แสดงอารมณ์ได้ดีโดยไม่จำเป็นตั้งทำให้เหมือนในการ์ตูน
  • ขยันใส่มุขดั้งเดิมในการ์ตูน และมุขใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาอย่างพอเหมาะ

Cons

  • กราฟิกลอยไปหน่อย
  • เป็นการ์ตูนเทนนิสที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทนนิสสักเท่าไหร่
  • คนที่มาดูใหม่อาจจะงง

ซีรีส์ The Prince of Tennis สร้างจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเดียวกัน ผู้แต่งคือ อาจารย์ทาเคชิ โคโนมิ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1999 (เรียกว่าเป็นการ์ตูนยุค 90 อย่างแท้จริง) The Prince of Tennis จัดเป็นการ์ตูนเทนนิสที่ค่อนไปทาง “โอเว่อร์” มาก เพราะนักตบแต่ละคนโดยเฉพาะทีมพระเอกจะมีท่าไม้ตายคนละท่าสองท่า ซึ่งแต่ละท่าระดับความยาก หรือความเป็นไปได้เรียกว่าระดับ 100/10 แต่ The Prince of Tennis ก็เป็นการ์ตูนกีฬาที่ดังมากในยุคนั้น จนถูกสร้างเป็น อนิเมชั่น, เกม, ละครเพลง, ภาพยนตร์ไลฟ์แอคชั่น และสินค้าที่ระลึกออกมาขายมากมาย แม้แต่ตามงานคอสเพลย์ก็ยังมีคนแต่งตัวเป็นตัวละครใน ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส ไปงานมากมายเหนือการ์ตูนกีฬาอื่นๆ แบบไม่เห็นฝุ่น (ลองคิดดูง่ายๆ คุณเคยเห็นใครแต่งเป็น ซึบาสะ ไปงานคอสเพลย์ไหม?)

The Prince of Tennis
นักเทนนิส บอยแบนด์ “ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส 2019”

สำหรับ The Prince of Tennis ฉบับคนแสดงนั้น จริงๆ มีมาแล้ว 2 ครั้ง (ไม่นับรวมเวอร์ชั่น The Musical) คือ

1.The Prince of Tennis Live Action (ของญี่ปุ่น)

The Prince of Tennis
สมัยนั้นถือว่าโอเคอยู่

ออกฉายในปี 2006
ความยาว 111 นาที เสนอเรื่องราวตั้งแต่การเข้ามาร่วมทีมของ “เรียวมะ” พระเอกของเรา (ชื่อตัวเอก ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส ดั่งเดิมของญี่ปุ่น) จนถึงจบการแข่งขันเทนนิสระดับมัธยม รอบคัดเลือกตัวแทนจังหวัด ตัวภาพยนตร์ได้รับการตอบรับดีพอสมควรตอนประกาศเปิดตัว แต่ก็ไม่ได้เปรี้ยงปร้างอะไรมาก อาจจะเพราะตัวละครที่ทำได้ไม่เนียนหลังจากที่พยายามปรับลุ๊คให้เหมือรมังงะ แต่ก็ทำได้ไม่ดี คงเหลือแต่ เรียวมะ ที่ได้ใจแม่ยกสายอนิเมะไปเต็มๆ


2.ทีวีซีรี่ส์ (ของจีน) ในชื่อ 网球王子(Wang Qiu Wang Zi) ซึ่งแปลได้ตรงตัวว่า “เจ้าชายแห่งเทนนิส” เลย

The Prince of Tennis
คนแสดงก็แปลกๆ แล้วนะเวอร์ชั่นนี้

ออกอากาศปี 2008
มีจำนวน 22 ตอน รายละเอียดหลายๆ อย่างพยายามเอาของญี่ปุ่นมา แล้วเปลี่ยนคำอ่านแบบจีนแทน แต่ตัวละครก็เหมือนจะตั้งใจทำให้ออกมาคล้ายตัวการ์ตูนเช่นทรงผม โดยไม่ค่อยสนใจว่าจะออกมาดูดีหรือไม่ เวอร์ชั่นนี้เลยเรียกว่าเงียบกริบดับสนิทแบบไม่เคยรู้เลยว่ามีมาก่อน

The Prince of Tennis
“สู้ๆ” คำนี้มาบ่อยมากในหนัง

ซีรีส์ The Prince of Tennis 2019

11 ปีผ่านไป ยักษ์ใหญ่แห่งวงการบันเทิงแดนมังกรอย่าง Tencent Pictures ก็ปลุกผีเจ้าชายลูกสักหลาด หรือ ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส ขึ้นมาอีกครั้งในรูปแบบ ทีวีซีรี่ส์คนแสดง ความยาว 40 ตอนจบ แต่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 奋斗吧, 少年! (Fen Dou Ba Shao Nian) ถ้าแปลก็ประมาณว่า “สู้เข้าไว้ วันรุ่น!” ในตอนที่ประกาศออกมาตอนแรกนั้น บอกเลยว่าได้รับเสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดี คนจีนเองมีกระแสด้านลบอยู่ไม่น้อย โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลซีรี่ส์คนแสดงที่มาจากการ์ตูนมักทำได้ไม่ค่อยดี (สงสัยเป็นภาพจำจากเวอร์ชั่นปี 2008 แน่ๆ) แต่พอออกฉายเหมือนจะผิดคาด เพราะ ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส เวอร์ชั่น 2019 นี้เรียกว่าลอกแบบมังงะมากว่า 90% เลย รายละเอียดต่างๆ มีเกือบครบ การเดินเรื่องเทียบกัน “ช็อตต่อช็อต” คือเหมือนลอกการบ้านมาเลย เวอร์ชั่นมังงะมี 42 เล่มจบภาค ซีรี่ส์เวอร์ชั่นนี้ก็มี 42 ตอน (ข้อมูลของจีนเขียนว่ามี 42 ตอนจบ แต่ใน Netflix มี 40 ตอนซึ่งก็จบเหมือนกัน อันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามีการตัดทอนอะไรตรงไหนไปนะครับ) เนื้อเรื่องของ ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส เองก็เริ่มและจบเท่าๆ กันคือ จบที่การแข่งชิงตัวแทนจังหวัดเพื่อไประดับประเทศ  เทียบง่ายๆ เหมือน 1 ตอนคือ 1 เล่ม ทำให้ช็อตที่แฟนๆ ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส อยากเห็นมานานอย่าง “น้ำผักสูตรอินูอิ” ในตำนาน พร้อมรีแอคชั่นที่ใกล้เคียงกับมังงะมากจนไม่ต้องสนใจความจริงอะไรเลย เอามันเข้าไว้

The Prince of Tennis
แบบเสื้ออาจจะไม่เหมือนเป๊ะ แต่คอนเซ็ปต์ได้

ทีมงานใส่ใจขนาดชื่อโรงเรียน อันนี้เหมือนเป็นกิมมิค หรือ Ester Egg เล็กๆ ที่ผมบังเอิญเจอ ในต้นฉบับนั้น โรงเรียนของพระเอกมีชื่อว่า โรงเรียน “เซซุน” โดยเขียนชื่อเต็มๆ ว่า 青春学園 (Seishun Gakuen, เซซุน งาคุเอน) และโรงเรียนนี้จะเรียกตัวเองแบบย่อๆ หรือฉายาว่า “เซงาคุ” (Seigaku 青学) ส่วนในเวอร์ชั่นจีนนี้โรงเรียนพระเอกจะชื่อว่า โรงเรียนมัธยม “หยี่ชิง” 育青中学(YuQing ZhongXue, ยวี้ชิง จงเซวี๋ย) โดยจะเรียกย่อๆ ว่า “ชิงเซวี๋ย” (QingXue 青学) จะเห็นว่าตัวจีนเขียนเหมือนกันว่า “青学” แต่อ่านคนละเสียง [เสียงญี่ปุ่น > Seigaku], [เสียงจีน > QingXue] โดยเราจะเห็นทั้ง 2 คำนี้ บนเสื้อแจ็คเก็ตของนักกีฬาของทั้ง 2 เวอร์ชั่น

กราฟิก

เมื่อ The Prince of Tennis ถือว่าเป็นการ์ตูนเว่อร์ๆ ที่แต่ละคนมีท่าไม้ตายสุดเด็ด CG จึงเป็นสิ่งสำคัญไปโดยปริยาย ซึ่งต้องบอกว่า ของจีนปี 2019 นี้ถือว่าทำสีสันต์ของ CG  ได้ดี แต่ถ้าพูดถึงความเนียนยังสู้ ฉบับญี่ปุ่น ปี 2006 ไม่ได้ คือของปี 2006 เข้าใจ CG น้อยๆ แม้มันจะดูลอยแต่ก็โชว์ไม่นานมันเลยดูเนียน ส่วนของจีนปีล่าสุดนี้ เน้นตรงนี้มากๆ “ท่าคว่ำหมีสีน้ำตาล” นี่มีหมีออกมาเลย มันก็เลยดูลอยชัดเจน แต่ก็ถือว่ารับได้สำหรับแฟนๆ การ์ตูนนะผมว่า

นักแสดง

เรื่องนี้เป็นที่รู้กันว่า ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส ต้องใช้นักแสดงเยอะมาก เพราะตัวละครทีมพระเอกคือดังทั้งทีม ไหนจะตัวละครเด่นของโรงเรียนอื่นๆ อีกโรงเรียนละ 2-3 คน และในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ผมว่าก็เป็นการตัดสินใจที่ดีของทีมงานที่เปลี่ยนโพกัสการเลือกตัวละครไปพอควรคือ เวอร์ชั่นนี้ไม่ได้เน้นให้ทรงผม หรือหน้าตาเหมือนกันฉบับการ์ตูนมาก แต่หันไปใช้ดารานี่หน้าตาดูดี รูปร่างใกล้เคียงกับฉบับการ์ตูนโดยเฉพาะลำดับความสูงต่ำ และไปเน้นการใช้อารมณ์ นิสัย ให้ใกล้กับต้นแบบการ์ตูนแทนโดยที่ไม่ต้องพยายามทำหน้าให้เหมือนตัวการ์ตูนมาก ออกมาโดยรวมเลยดีมาก ถ้าจะเสียก็ที่ ลู่ เซี่ย(เรียวมะ) ดูหน้าแก่ไปหน่อย แต่ความสูงใช้ได้เลย รุ่นพี่จัว จื้อ(ฟูจิ) ที่ดูดรอปจากการ์ตูนไปมากเมื่อเทียบกับตัวละครอื่น ลองดูได้ข้างล่างนี้เลย

กัปตันมู่ ซือหยาง (กัปตันเท็ตสึกะ คุนิมิสึ)


รองกัปตันฉือ ต้าหย่ง (รองกัปตันโออิชิ ชูอิจิโร่)


ถัง เจียเล่อ (คิคุมารุ เอจิ)


จัว จื้อ (ฟูจิ ชูสึเกะ)


เฮ่อ ซิงหลง (คาวามูระ ทาคาชิ)


เหยียน จื้อหมิง (อินูอิ ซาดาฮารุ)


จาง ไป่หยาง (ไคโด คาโอรุ)


เฉียว เฉิน (โมโมชิโระ ทาเคชิ)


ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส

ลู่ เซี่ย (เอจิเซ็น เรียวมะ)


ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส
The Prince of Tennis 2019 ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส

สรุป

โดยรวมแล้ว “ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส” เวอร์ชั่น 2019 นี้ถือว่าดีมากสำหรับแฟนๆ มังงะครับ ขนาดผมคิดว่าจะห่วยๆ พอดูๆ ไปอืมก็ติดแฮะ! แต่สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จัก ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส มาก่อนเลยอาจจะ งงๆ หน่อย แล้วมองว่าหนังอะไร ดูไร้สาระ และชอบมีอะไรเว่อร์ๆ ออกมาให้ดูจังเลย เพราะการดำเนินเรื่องเน้นไปที่ตัวละครเกือบทั้งหมด แถมอิงตามการ์ตูนด้วย ตอนตีเทนนิสกันนี่แต้มแทบไม่ต้องขานกันเลย โพกันที่อารมณ์และท่าไม้ตายเกือบทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอารมณ์ร่วมแบบการดูเทนนิสธรรมดาอะไรนั้นก็แทบจะไม่มีเลยครับ
ถ้าเคยอ่านการ์ตูนมาแล้วก็ดูได้เลยอย่ารอช้า ถ้ายังไม่เคยเก็บไว้ว่างๆ ค่อยมาดูก็ได้ครับผม

The Prince of Tennis 2019 ปริ๊นซ์ออฟเทนนิส เวอร์ชั่นจีน Netflix

อ่านรีวิวหนังอื่นๆได้ที่

Leave a comment
The Devil’s Hour ช่วงเวลาปีศาจ ตี 3.33 นาที ที่เต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์เกินคาด!