playinone.com
รีวิว บทความ หนัง ซีรีส์ Netflix สตรีมมิ่งทุกระบบ

รีวิว All the Bright Places ประกายความหวังส่องสว่างในวันมืดมน

สรุป

หนังโรแมนติกดราม่า ที่ไม่ตอบโจทย์คนชอบหนังหวานแหวว มีประเด็นโรคซึมเศร้าในคาแร็คเตอร์ตัวละคร ดำเนินเรื่องเรื่อยๆพล็อตไม่หวือหวา เป็นหนังรักในอีกเวอร์ชั่นที่ต้องย้ำอีกทีว่าไม่หวานถ้าดูแบบไม่คาดหวังอะไรเลยได้ก็จะดี

Overall
6.5/10
6.5/10
Sending
User Review
4.4 (5 votes)
Comments Rating 0 (0 reviews)

Pros

  • นางเอกเล่นดี บางทีไม่อินกับบทแต่อินกับการแสดงของนางเอกซะงั้น
  • ดูแล้วเหมือนได้ไปเที่ยว
  • มีฉากเห็นธรรมชาติเยอะ เห็นสีเขียวแล้วผ่อนคลายดี

Cons

  • ถ้าไม่มีพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนเป็นซึมเศร้าจะแอบรำคาญคาแรคเตอร์ของตัวละครหน่อยๆ
  • ไม่เหมาะกับคนที่อยากดูหนังรักหวานแหวว
  • บางฉากไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่
  • เนื้อเรื่องค่อนข้างเอื่อยไม่หวือหวานะ
  • คาดเดาง่ายไปหน่อย

All the Bright Places แสงแห่งหวังที่ทุกฝั่งฟ้า หลังจากสูญเสียพี่สาวไป สาวโลกส่วนตัวสูงอย่างไวโอเล็ต มาร์กีย์ (แอลล์ แฟนนิ่ง) ก็เจอความหมายในชีวิตอีกครั้งเมื่อได้พบกับหนุ่มแปลกอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อย่างธีโอดอร์ ฟินช์ (จัสติส สมิธ) ภาพยนตร์ของ Netflix สร้างจากนิยายขายดีทั่วโลกชื่อเดียวกันจากปลายปากกาของ เจนนิเฟอร์ นิฟเวน

 All the Bright Places (2020) on IMDb
คะแนนเฉลี่ย IMDB

ตัวอย่าง All the Bright Places แสงแห่งหวังที่ทุกฝั่งฟ้า

ไวโอเล็ต หญิงสาวอมทุกข์ที่สูญเสียพี่สาวไปจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เธอแบกความเศร้าเอาไว้บนบ่าและใบหน้า เปลี่ยนไปจากคนเดิมที่เคยเป็น จนได้มาเจอกับฟินช์ ชายหนุ่มที่โผล่เข้ามาในจังหวะที่ยากลำบากของชีวิตพอดี และฉุดเธอให้ผ่านพ้นจากความหม่นหมองในชีวิต ด้วยการพาไปท่องเที่ยวตามสถานที่สวยงามต่างๆ ในเมืองด้วยกัน โลกของเธอสดใสและมีความหมายมากขึ้น ในขณะเดียวกันโลกของฟินช์เองกลับมืดมนและอ้างว้างเกินกว่าที่ไวโอเล็ตจะเข้าใจ

เตรียมโบกมือลาเดือนแห่งความรักด้วยภาพยนต์โรแมนติกดราม่าอย่าง All The Bright Places ซึ่งก็ตามนั้นเลยว่าเป็นโรแมนติกดราม่าจริงๆ เป็นหนังรักที่ไม่ได้ให้ความรู้สึกกุ๊กกิ๊กดูแล้วบิดหมอนนะต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน (ถึงเห็นหน้าไวโอเล็ตแล้วโลกจะสดใสก็เถอะ) หนังเปิดมาด้วยตัวละครหลักที่ประสบความเจ็บปวดในชีวิต ไวโอเล็ตสูญเสียคนในครอบครัวที่เป็นทั้งพี่สาวและเพื่อนสนิท การแสดงออกถึงความเจ็บปวดของเธอคือการปิดกั้นตัวเองออกจากสังคม ปลีกตัวแยกออกมา ส่วน ฟินช์เองก็เคยสูญเสียคนสำคัญไปเช่นกัน แต่การตอบสนองต่อความเจ็บของฟินช์จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากไวโอเล็ต (ถึงทั้งคู่ดูรวมๆ เป็นการหนีปัญหาคล้ายๆ กัน) ฟินช์จะเก็บซ่อนเรื่องราวของเขาเอาไว้ปกปิดด้วยรอยยิ้มและท่าทางที่ดูว่าเขาไม่เป็นไร ซึ่งเราชอบตรงนี้นะ คนเราไม่จำเป็นต้องแสดงออกเวลาเศร้าเหมือนกัน (เป็นเรื่องที่จริงๆแล้วทุกคนรู้แต่บางทีอาจจะไม่ทันได้คิด) อะมาต่อ และมันก็เป็นหนังรักที่ (มักจะ) ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายนึงชอบกัน ในเรื่องนี้ตกเป็นของฝ่ายพระเอก ฟินช์ที่เจอไวโอเล็ตครั้งแรกตรงสะพาน ขอขยายความว่ามันไม่ใช่การเจอกับบนสะพาน แต่เป็นการเห็นไวโอเล็ตยืนอยู่บน ขอบสะพาน (สาวสวยผมบลอน์ตาเศร้า) พอฟินช์เดินเข้าไปปรากฏว่าผู้หญิงที่ยืนอยู่บนนั้นคือ ไวโอเล็ต ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นเพื่อนร่วมชั้นเดียวกับเขา และนั้นคือจุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้

ไวโอเล็ตกับฟินช์ที่พยายามทำให้ทุกอย่างสดใส

หลังจากที่ฟินช์เจอไวโอเล็ตในสถานะการณ์แบบนั้น ฟินช์ก็ทำตัวเป็นพระเอก (…) ที่ทั้งดมกลิ่นหาและพยายามเยียวยาไวโอเล็ตจากความหม่นหมองที่ครอบคลุมเธออยู่ ประจวบเหมาะกับ อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์ที่สั่งโปรเจ็กต์คู่ให้ไปค้นหาสถานที่ต่างๆ ของเมืองและเขียนถึงความงดงามของสถานที่ที่ไปมา ซึ่งก็เข้ากับสถานะการณ์ดี บางทีความเศร้าก็แก้ได้ด้วยการออกไปค้นหาสิ่งธรรมดาที่สวยงาม (แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้เหมาะกับคนเศร้าที่ดูแล้วจะหายเครียดนะ) รวมๆแล้วสำหรับตัวเราเองเรียกว่าเป็นหนังรักได้ไม่เต็มปากมันกึ่งๆ ให้ความรู้สึกเป็นเพื่อนที่เข้าใจกันมากกว่า

ฉากขี่จักรยาน กับรอยแอบยิ้มของไวโอเล็ต

ตอนที่เราดูเรื่องนี้ฉากแรกๆ รู้สึกถึงความแปลกแยกของตัวละครหลักทั้งสองคนมากๆ (กับกลุ่มเพื่อน อาจารย์ ครอบครัว) และยังรู้สึกถึงความเข้าใจของฟินช์ที่มีต่อไวโอเล็ต เป็นอารมณ์แบบที่คนประสบปัญหาแบบเดียวกันสามารถมีความเข้าใจต่อกันได้โดยไม่ต้องการคำอธิบาย เป็นความอบอุ่นแบบไม่มีบทพูด แล้วฟินช์ก็ยังมีความแปลกประหลาดที่ดูจริงใจจึงเป็นการเพิ่มความรู้สึกปลอดภัยให้กับไวโอเล็ตได้ไม่ยาก ซึ่งเราจะขอแบ่งหนังเรื่องนี้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือส่วนแรกที่ฉายให้เห็นถึงปัญหาของนางเอก เรื่องของความสูญเสียและได้รับการปลอบประโลมจากฟินช์ ส่วนหลังคือส่วนที่นางเอกเริ่มรับรู้ว่าจริงๆ แล้วคนที่เข้ามาช่วยเราเนี่ย เป็นคนที่ต้องการความช่วยเหลือสุดๆ เหมือนกัน

สรุปสั้นๆเลย All The Bright Places ก็เป็นหนังโรแมนติกดราม่า ที่ไม่ตอบโจทย์คนที่ชอบหนังรักจ๋า ตัวหนังยังเอื่อยอยู่ พล็อตไม่หวือหวาอะไรนัก เราไม่รู้ว่าอารมณ์อึนๆ นี่คือจุดขายของหนังหรือเปล่า แต่ก็เป็นรสฝาดติดปลายลิ้นที่ถ้าใครชอบก็คงไม่ว่า แต่เกิดไม่ถูกใจขึ้นมาก็เสียอารมณ์ไปเลย

 

แนะนำตัวละครแบบสั้นๆ

ธีโอดอร์ ฟินช์

ฟินช์เป็นตัวละครที่เดาใจยาก มีหลากหลายอารมณ์ บุคลิกแตกต่างจากคนอื่นรอบตัวอย่างชัดเจน การตอบคำถามของฟินช์ในเรื่องบ่งบอกว่าเขาเป็นคนคิดเยอะค่อนข้างหมกหมุ่นกับอารมณ์ของตัวเองพอสมควร และเก็บซ่อนความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ลึกเหมือนกลัวการโดนขุดขึ้นมาทำร้าย หรือไม่การพูดถึงมันขึ้นมาก็เป็นการทำร้ายตัวเองของฟินช์ก็ได้ มีฉากในหนังที่ฉายให้เห็นชั้นหนังสือของฟินช์ที่ถูกเรียงไล่สีไว้อย่างเป็นระเบียบ (การแปะโพสอิส การตอบคำถามด้วยคำถาม ความระแวงเล็กๆน้อยๆในบรรยากาศ) ซึ่งเราโยงไปถึงโรค OCD (ย้ำคิดย้ำทำ) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีปัญหากับความคิดและการตัดสินใจของตัวเอง กลัวการกระทำที่อาจส่งผลเสียให้แก่ตัวเองและคนรอบข้าง ส่วนเรื่องที่ฟินช์มักจะหายตัวไปบ่อยๆ ถ้าคิดในแง่ของคนป่วยคือเขาก็หายไปเผื่อที่จะเยียวยาตัวเองด้วยเหมือนกัน (ด้วยภาพรวมที่เขาไม่ชอบเล่าเรื่องตัวเองการแก้ปัญหาแบบนี้ก็ดูฟินช์ดีนะ)

ส่วนตอนสุดท้ายที่เขาหายไปเลยคือฟินช์เขาก็ใบ้มาแล้วว่าอยากจะไปในที่ๆ ไม่เคยมีใครไปมาก่อน แล้วสถานที่นั้นก็อาจจะมอบสิ่งที่เขาต้องการได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรือถ้ามองในมุมที่เขาบอกว่าไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรลงไป และความหวังสูงสุดก่อนตายคือการอยากจะมีสติ เราจะมองว่ามันเป็นการปกป้องไวโอเล็ตจากตัวเขาเองก็ได้อีกเหมือนกัน

ไวโอเล็ต มาร์กีย์ รับบทโดย แอลล์ แฟนนิ่ง เจ้าหญิงออโรร่าจาก Maleficent

ไวโอเล็ตมีการตอบสนองต่อความเจ็บปวดแบบที่เราพอจะนึกภาพกันออก ไวโอเล็ตจะปลีกตัวเองออกไป หนีจากสิ่งที่กระตุ้นทำให้รู้สึกถึงความเจ็บนั้น (ถ้าให้เห็นภาพก็อกหักไม่ฟังเพลงเศร้า ไม่ไปในที่ที่เคยไปกับแฟนเก่า เขาชอบสีฟ้าฉันจะไม่ใช้ ประมาณนี้) ไวโอเล็ตฉายภาพของคนด่ำดิ่งลงไปในความเศร้าที่เรารู้สึกได้เลยจากสีหน้าท่าทางในตอนต้นของหนัง ซึ่งมีพัฒนาการในตอนท้ายๆที่เปลี่ยนไปจนเห็นได้ชัด

 


Leave a comment
The Devil’s Hour ช่วงเวลาปีศาจ ตี 3.33 นาที ที่เต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์เกินคาด!