playinone.com
รีวิว บทความ หนัง ซีรีส์ Netflix สตรีมมิ่งทุกระบบ

เจาะลึก ARM vs Huawei อีกหนึ่งไม้เด็ดที่ลุงทรัมป์อัดจีน

ARM vs Huawei ขอเล่าให้ฟังว่า ตัว ARM cpu architecture ซึ่งช่วงหลังได้กลายเป็นมาตรฐานของเครื่องพกพา อย่างเครื่องเกม (คนทำเกมจะคุ้นเคยกับ ARM มาตลอด) และโทรศัพท์มือถือ เพราะอะไร และมันสำคัญอย่างไร?

เขียนแล้วก็อยากอธิบายให้เข้าใจแบบถึงกึ๋น ขอปูพื้นกันก่อน

ท้าวความก่อนว่า…

ก่อนที่สถาปัตยกรรมที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง cpu x86 ของ IBM ที่ถูกใช้กันแพร่หลายบนเครื่อง PC ครองโลกมาจนถึงปัจจุบัน

โลกเรามีการคิดค้น cpu เพื่อเป็น ”สมอง” ให้กับแมชชีนมาหลายสถาปัตยกรรม ทำให้ยุคแรกมีการแข่งขันกันผลิตสมองที่คิดได้เร็วกว่า ทำงานได้หลากหลายกว่าเพื่อนำไปใช้ในคอมพิวเตอร์

ARM architecture นั้นเกิดมายุคใกล้ๆกันกับ x86 แต่ต่อยอดมาจาก Berkley RISC ที่เน้น การทำงานแบบง่ายไม่ซับซ้อน ส่วน x86 มาจาก CISC ที่เน้นการทำงานที่ซับซ้อนได้ อย่างรวดเร็ว ส่วนอีกค่ายอย่าง Standford MIPS ก็ได้ความนิยมพอสมควร เรียกว่า CPU ก็มีหลายค่ายแข่งๆกัน

(ยุคนั้นก่อนพี่บิลเกตุจะปั้น dos os มาใช้ บน x86 CISC คนเค้านิยมใช้ unix os ที่รันบน CPU work station ยอดฮิตอย่าง SPARC CPU ของ SUN ที่เป็น RISC กันมาก่อนอ่ะนะ จน unix กลายต้นฉบับของ linux os )

การออกแบบ Cpu architecture มันเหมือนกับคนสร้างกฏต่างๆ ขึ้นมาว่า เช่น A จะบวกลบกับ B กันนั้น ต้องใช้ขั้นตอนอย่างไรบ้าง นึกอย่างนี้ครับว่า

สมมุตินะครับค่าย X86 บอกว่า A + B เหรอ

ขั้นที่ 1 ให้เอา จำนวน A ไปไว้ที่มือขวา

ขั้นที่ 2 ให้เอา จำนวน B ไปไว้มือซ้าย

ขั้นที่ 3 เอา B ออกและไปเพิ่ม A ทีละ 1 จน B เป็น 0

แต่ค่าย ARM บอกว่า

ขั้นที่ 1 ให้เอา จำนวน A ไปไว้ที่มือขวา

ขั้นที่ 2 เอา A เพิ่มทีละ 1 จำนวน B รอบ

เห็นมั้ยครับว่า ผลลัพธ์คือ บวกเหมือนกันแต่วิธีคิดต่างกัน. คำสั่งก็ต่างกัน

ชุดคำสั่งที่จะทำให้เกิดการทำงานของ cpu เหล่านี้พวกนี้เรียกว่า Machine Code ซึ่งแต่ละสถาปัตยกรรมก็ออกแบบ Machine Code ต่างกัน

หน้าตาก็จะประมาณนี้ แทนเอาเลขฐาน 16 มาแทน Binary

FFAA00 BBCCAA 2F1A3B

Machine code มันก็อ่านเขียนย๊ากๆ ทำยังไงให้มนุษย์เขียนคำสั่งง่ายๆสุดโดยภาษาที่ใกล้เคียงกับ Machine Code ที่สุด ทำให้เกิด ภาษา Assembly ขึ้นมา

หน้าตาประมาณนี้ อ่านง่ายขึ้นเยอะเลยยย หราา~~

แต่ Assembly ก็ย๊ากกกจังฮู้ มีนาย เดนนิส ริชชี่ มาทำภาษาให้ง่ายขึ้น เกิด ภาษา C ขึ้นอีก (แล้วภาษา A,B ไปไหน 55 จริงๆมีนะแต่ไม่นิยมไง)

อภิมหาตำราที่ของแท้ต้องหน้าปกสีฟ้า 555

ในขณะที่อีกคนบอกรันทีละโปรแกรมยุ่งยากจัง น่าจะมีตัวมาจัดการให้ง่ายๆนะ งั้นทำ Operating System มาเพื่อรับคำสั่งได้หลายๆ อันดีกว่า เกิด unix , dos os, linux และพัฒนากันต่อมาเป็น Windows, mac os, android,ios ก็ว่าไป

ตอนนั้น Sun บอก OS มันจะเยอะเกินไปแล้วนะ มานี่ JAVA เลย อั๊ว เตรียม Virtual Machine บนทุก OS มาให้แล้ว compile one run (away) anywhere

นับวันๆโลกก็พัฒนาให้ซ่อนเลเยอร์ล่างๆไปเรื่ิยๆจนผู้คนลืมเลือน

นักพัฒนาโปรแกรมก็แห่กันมาขุดทอง สร้างเกมบ้าง สร้างเบราส์เซอร์ บ้าง สร้างเสิร์ชเอ็นจินท์บ้าง สร้างเวปสังคมมีเดียบ้าง

แล้วโลกก็สงบสุข เต็มไปด้วยเครื่องมือที่กลั่นออกจากสมองของ นักพัฒนาซอฟต์แวร์

ต้องขอบคุณ CPU Architecture ที่สร้างถนนไว้ให้รถของนักพัฒนาเหล่านี้วิ่งจนเข้าเส้นชัยมากมาย

เขียนเป็นแผนภาพยอดฮิต ก็แบบนี้

——————

Application

———^——–

Programing language

———-^——–

Operating system

———^———

Machine language

———^——–

CPU Architecture

——————

เพราะงั้นทำให้ CPU Architecture นึงๆ มันก็มีภาษามาตรฐานตัวเอง ถ้าลื้อสั่งมาไม่ถูกภาษามาตราฐานอั๊ว อั๊วอาจจะเกเรได้นะ ก็อ่านไม่รู้เรื่องอ่ะ

ทีนี้เมื่อมังกรบอก อั๊วขอร่วมแบ่งเค๊ก cpu ไฮเทคกะเค้าด้วย วิธีที่ดีที่สุดคือ ขอซื้อลิขสิทธิ์ของ cpu architecture ที่ ชาวโลกเค้านิยมใช้ แล้วมาต่อยอดผลิต cpu เองเลย โปรแกรม ซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น พวกลื้อก็มารันบนเครื่องอั๊วได้ทันทีก็ใช้ Android OS ที่รันโดย ARM architecutre เหมือนกัน

หวยมาออกที่ ARM ที่ผงาดมาเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์พกพาในยุคที่มือถือขายดีกว่าเครื่องพีซี เพราะ

1. ARM เป็นซีพียูที่ “กินไฟต่ำ” ส่วน X86 นั้นถ้าเอามาทำมือถือสมัย 15 ปีที่แล้ว ทุกคนคงได้พกหม้อแปลงแบบโน๊ตบุ้คกับ PSU เดินไปเดินมา ทำให้สมัยนั้น ARM เป็น CPU ที่ Battery friendly และเหมาะมาทำอุปกรณ์พกพามากๆ

2. “ถูก” สาเหตุนึงมาจาก เป็นตระกูลของ RISC ซึ่งเป็นโครงสร้างโคตรโบราณและเล็ก หมายความว่า จำนวนชิปนั้นน้อยกว่าสถาปัตยกรรมแบบอื่น ทำให้ราคาถูกกว่าชาวบ้าน แถมขายดีอีก ดั้มป์ราคาซะเลย เจ้าอื่นจะมาแข่งด้วยก็กำไรน้อยหน่อยนะ

3. ด้วยความที่ชิปหาย เอ้ย ชิปน้อย กินไฟต่ำ มันก็ “ร้อนน้อย” ด้วย ทำให้ มือถือของทุกคนไม่ต้องเอาพัดลมมาแนบแล้วมีเสียงฟู่ๆแบบคอมบ้าน แต่ก็ต้องแลกกับความเร็วที่แพ้ชาวบ้านเพราะทางลัดในตรอกซอกซอยมันน้อย

ทว่าความหายนะมันมักซ่อนอยู่ในรายละเอียด

ด้วยความที่สถาปัตยกรรมโบราณมาก มันต่อยอดยากและจดสิทธิบัตรไว้แม่งเลย ทีนี้ใครจะเอาไปต่อยอดพัฒนาให้เร็วขึ้นหรือจะซัพพอร์ทแบรนด์ตัวเองลื้อต้องซื้อลิขสิทธิ์พิมพ์เขียวจากอั๊วนะ อั๊วมีขายทุกแบบ แถมเพื่อนซี้อั๊ว อากูกกู๋ Android os ส่วนใหญ่ก็รันบน ARM  architecture ซะด้วยซี เอาซี่ๆ (ถึงแม้จะเป็น open source และมีคนเอาไปรันบน x86 หรือ cpu อื่นๆมากมาย แต่รันบน ARM ยังไงก็ชัวร์สุด)

วันนี้ ถึงแม้ Huawei จะโดนแบนจากอเมริกาเป็นทีม avenger ทั้ง กัปตัน Android ทั้ง ไอ ARM แมน แน่นอนว่า Huawei มีทางรวบรวมอัญมนีไว้แล้ว คือ cpu architecture ของตัวเอง os ของตัวเอง ฮ่งเหม็ง โอเอส?  เพราะ ดีไซน์กับผลิตพวกนี้ ณ องค์ความรู้ปัจจุบันไม่ได้ยากอีกต่อไป แต่การจะทำให้เป็น สแตนดาร์ดมาตราฐานที่ชาวโลกนิยมใช้มันคือเงินมหาศาล และเวลาอีกที่ Huawei ฝืนต่อไป Huawei ก็จะคุยกับชาวโลกไม่รู้เรื่องเลยอีกเป็นปีๆ อารมณ์เหมือน โนเกียเอามือถือ symbian os ปัดฝุ่นมาขายใหม่วันนี้ (ห่านเอ้ย เล่น ROV ก็ไม่ได้ ) ก็คงอีกใช้เวลาสักพักที่จะมี ROV เล่นกะเค้า

Huawei คงต้องใช้เงินมหาศาลสร้างโลกใหม่ขึ้นมาเองเพื่อดึงดูดและหลอกล่อให้นักพัฒนามาอยู่ในโลกใหม่ด้วยกัน ลองคิดดูว่ามหาบริษัทอย่างกุ้กเกิ้ลทำแอนดรอยด์มา 10 กว่าปีกว่าจะครองตลาดและเบียดคู่แข่งจนเลิกทำ os ของตัวเองไปเกือบหมดแล้ว , Huawei ต้องใช้เวลากี่ปี? ทำได้แต่คงไม่ง่าย

แต่เชื่อขนมกินได้เลยครับ ว่าเกมนี้ต้องการบีบรัฐบาลจีนเข้าโต๊ะเจรจาตอนที่ในมือมีไพ่เหนือกว่า

ไม่นานก็จะจบครับ จีนกับอเมริกาผูกพันธ์เกินกว่าจะทำลายกันได้

งานนี้สนุกครับ เรียกว่าทีมงานทรัมป์เดินหมากได้ดีครับ เพราะเข้าใจถึงกึ๋นว่าจุดอ่อนแข็งแต่ละฝ่ายคืออะไร เห็บอย่างเราก็รอดูเค้าฟัดกันให้เสร็จครับ ถึงจีนจะครองตลาด Rare Earth แต่ปีที่แล้วญี่ปุ่นเพิ่งค้นพบแหล่งแร่นี้มหาศาลที่จะใช้ได้อีก 1000 ปี มหามิตรอเมริกาอย่างญี่ปุ่นที่เสียตลาดอิเล็คโทรนิคไปให้กับจีนก็คงจะเข้าข้างลุงทรัมป์แลกดีลดีๆ บางอย่างในการชุลมุนนี้เช่นกัน

ARM vs Huawei

อ่านบทความเกี่ยวกับหัวเว่ยเพิ่มได้ที่นี่

Leave a comment
The Devil’s Hour ช่วงเวลาปีศาจ ตี 3.33 นาที ที่เต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์เกินคาด!