playinone.com
รีวิว บทความ หนัง ซีรีส์ Netflix สตรีมมิ่งทุกระบบ

คอสเพลย์ออกมาดีต้องทำอย่างไร?

คอสเพลย์ดีต้องทำอย่างไร? จากบทความตอนที่สองที่ได้เขียนทิ้งท้ายเกี่ยวกับ “คุณภาพในการคอสเพลย์” นั้น หลายๆคนอาจจะสงสัยในความหมายที่ผมต้องการจะสื่อครับ คุณภาพในการคอสเพลย์ หรือผมจะขอเรียกสั้นๆว่า

“คอสเพลย์คุณภาพ” มาจากการที่คนคนหนึ่งใช้ปัจจัยหลายๆสิ่ง สร้างสรรค์ผลงานไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย prop อุปกรณ์เสริม ทรงผมของวิกของตัวละครนั้นๆที่เขาจะคอส รวมถึงการเข้าถึงนิสัยของตัวละครนั้นๆได้ด้วย

หรือถ้าจะอธิบายสั้นๆ ง่ายๆก็คือ สามารถแต่งคอสเพลย์เป็นตัวละครนั้นๆ ได้อย่างเหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ครบ หากขาดความพยายามครับ บางทีอาจจะใช้เวลานานมากน้อยขึ้นอยู่กับความยากง่ายของชุด เพราะบางที่อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนเลยกว่าจะได้ชุดที่สมบูรณ์ที่สุด ถ้าเพื่อนๆนึกภาพไม่ออก ก็ลองไปงานคอสสักงานแล้วได้เจอกับคนที่คอสตัวละครที่เพื่อนๆรู้จัก แล้วให้ความรู้สึกแบบว่า “เฮ้ย อย่างกับหลุดมาจากในเรื่องเลย เหมือนมากๆ” อะไรประมาณนั้นครับ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า เพื่อนๆเคยรู้สึกแบบนั้นบ่อยๆเหมือนกัน

 

“คอสเพลย์ดีต้องทำอย่างไร?” 

และอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดเป็นคอสเพลย์คุณภาพได้บ้างนั้น ผมพอจะจำแนกเป็นข้อๆได้ดังนี้ครับผม

 

1. ความเหมือนของรูปร่างและหน้าตาของเรา ไกล้เคียงกับตัวละครต้นแบบแค่ใหน

ของแบบนี้อยู่ที่ต้นทุนทางร่างกายและหน้าตาว่าเหมือนสักตัวละครต้นแบบเพียงใดครับ แต่ก็นะไม่มีใครเกิดมาแล้วหน้าตาหรือรูปร่างจะเหมือนตัวละครต้นแบบเป๊ะๆ มันเป็นไปได้ยากมาก (แต่ก็นะส่วนใหญ่ที่เป๊ะๆมักจะเป็นตัวละครที่ไม่เท่ไม่หล่อนี่สิฮะๆๆ) จึงจำเป็นที่จะต้องมีการแต่งหน้า จัดสัดส่วนรูปร่าง บางคนถึงกับไปฟิตร่างกายเพื่อคอสตัวละครที่มีกล้ามเยอะๆก็มี การเลือกวิกและจัดทรงผมก็เช่นกันเป็นอีกหนึ่งในตัวช่วยให้มีความเหมือนของตัวละครมากขึ้นเข้าไปอีกครับผมส่วนคนที่คอสเพลย์เป็นตัวละครไม่เปิดเผยหน้าตาก็ข้ามส่วนได้ไปได้นะ ^^ (คนเขียนคอสตัวละครประเภทนี้บ่อยเพราะหน้าไม่หล่อและขี้เกียจเซ็ทวิก =v=)

 

2. ชุดที่ทำออกมามีความเหมือนจริงกับต้นแบบมากน้อยเพียงใด 

เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดถึงความเหมือนของตัวละครอันดับแรกเลยก็ว่าได้ครับ ทำให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมารู้ได้ทันทีในแวบแรกว่า “คอสเป็นตัวนี้ ตัวนั้นนี่หว่า” และถือเป็นขั้นตอนที่ใช้ความระเอียด ความตั้งใจไม่น้อยในการทำชุดให้ออกมาดีเหมือนละมีรายละเอียดครบได้ครับ เป็นขั้นตัวที่ใช้เวลากับมันนานที่สุด ตั้งแต่เก็บข้อมูลจากรูปทุกๆมุมเท่าที่จะเป็นไปได้ เทียบสีกับผ้าที่จะใช้ รวมไปถึงการเก็บรายละเอียดต่างๆ เท่านั้นยังไม่พอ ต้องมานั่งทำ prop(อุปกรณ์เสริมประจำตัว) เพิ่มเข้าไปเป็นการเติมเต็มลักษณะของตัวละครนั้นๆได้มากขึ้นอีก คุณภาพไม่คุณภาพก็ดูกันจากตรงนี้หล่ะ ซึ่งแน่นอนว่าคอสเพลย์มือใหม่คงเป็นเรื่องยากที่จะทำส่วนนี้ได้ดี100% แต่ก็แน่นอนครับ ทุกๆอย่างย่อมมีครั้งแรกเสมอ ขอเพียงมีความคิดที่จะเริ่ม แล้วทักษะฝีมือของเพื่อนๆก็จะเพิ่มมากขึ้นเอง ผู้เขียนขอเอาใจช่วยนะครับผม ^^

อย่างกับออกมาจากเกมจริงๆเลย

3. Inner การเข้าถึงของนิสัยของตัวละคร 

เป็นสิ่งที่ผู้เขียนคิดอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ชุดที่ใส่นะ การเข้าถึงนิสัยของตัวละครเป็นการเพิ่มความเหมือนจริงของตัวละครนั้นมากขึ้น ถึงแม้ว่าชุดที่ใส่จะไม่ค่อยเหมือนหรือไม่สวย แต่ถ้ามีส่วนนี้จะเป็นการเสริมจุดเด่น กลบจุดด้อยเรื่องชุดไปได้เช่นกัน ถือเป็นข้อที่ช่วยทำให้ตนเองคอสฯเหมือนตัวละครมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปเสียเงินเพื่อเพิ่มความเหมือนจริงๆนะ ^^ แต่ถ้ามีทั้งสองอย่างเลยจะยิ่งมีความสมบูณร์แบบมากขึ้นไปอีก อย่างกับหลุดมาจากเรื่องก็ไม่ปาณแล้วการที่จะเข้าถึงตัวละครได้ต้องทำยังไง? ก็อ่านๆ ดูๆ นิสัยการพูดจาของตัวละครที่คุรจะคอสฯให้เยอะๆ เหมือนเป็นการทำความเข้าใจทำความรู้จักนิสัยของเพื่อนๆแหละครับ ถ้าเพื่อนๆดูการ์ตูนเรื่องนั้นบ่อยจริงๆ จะเข้าใจนิสัยของตัวละครนั้นๆ ได้ไม่ยากครับ 

การเข้าถึงบุคลิกของตัวละคร ช่วยเพิ่มความความเหมือนของตัวละครได่

4. เพื่อนๆ ช่วยคุณได้

สองหัวดีกว่าหัวเดียวครับ การมีเพื่อนทำให้เราคอสเพลย์ได้ดีขึ้นนะครับ ไม่ว่าจะเริ่มจากการช่วยกันวิเคราะห์หาข้อมูลตัวละคร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไปช่วยกันซื้อผ้า ช่วยกันตัดชุดทำpropต่างๆ ทำให้เพื่อนรู้จักแบ่งหน้าที่ในการทำหลายๆสิ่งได้ ทำให้เป็นการแบ่งเบาในการทำชุดยากๆได้เช่นกันนะครับ และที่สำคัญการคอสเพลย์เป็นกลุ่ม เป็นการช่วยเพิ่มความเหมือนและความสมจริงได้เช่นกัน เพราะบางครั้งการคอสเลพย์เป็นตัวละครบางตัวจำเป็นที่จะต้องมีคู่หูหรือตัวละครที่เสริมองค์ประกอบครับ ฉนั้น รักเพื่อนของคุณให้มากๆนะคร้าบบบบ ^^  

คอสเพลย์เป็นกลุ่มย่อมดีกว่าคอสเพลย์คนเดียวนะ

5. ใจรัก (องค์ประกอบสุดท้ายที่สำคัญ)

ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และสำคัญมากๆ ในการที่จะคอสเพลย์เป็นตัวละครหนึ่งตัวให้เหมือนและสมบูณร์ที่สุด เพราะสิ่งนี้ทำให้เพื่อนมีความตั้งใจที่เก็บรายละเอียด เรียนรู้นิสัยของตัวละคร และนั่งตัดชุดทำprop หรือง่ายๆก็คือ สิ่งนี้ทำให้เพื่อนๆ สามารถทำสี่หัวข้อด้านบนได้ครบจนออกมาเป็นผลงานที่ดีที่สุดที่เพื่อนๆทำได้ในขณะนั้นผู้เขียนคิดอยู่นานมากว่าจะรวมข้อนี้เข้าไปด้วยดีใหม ไม่ใช่อะไร เพราะมันเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันไม่รู้จบนี่สิ ว่าอย่างใหนใจรักไม่ใจรัก ผู้เขียนขอคิดง่ายๆแบบนี้ละกันนะครับ “ใจรัก” คือการที่เราทำในสิ่งๆนั้น โดยที่เราไม่ได้ทำเพราะเป็นการทำเพื่อตามคนอืนหรือคนหมู่มาก ไม่ว่ากระแสจะเปลี่ยนไปอย่างไร คนอื่นเขาจะไปทำสิ่งอื่นที่ไม่ใช่สิ่งเดิมแล้ว เราก็ยังทำในสิ่งที่เรารักอยู่ต่อไป ง่ายๆแค่นี้เองครับกับความหมายที่ผมคิดหน่ะนะ อนึ่ง ผู้เขียนคิดว่าเราไม่ควรไปตัดสินว่าใครทำเพื่อใจรักหรือไม่อย่างไร ขอเพียงตัวเองมีใจรักในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ก็เพียงพอแล้วครับ 

 

แล้วคอสเพลย์คุณภาพมีประโยชน์อย่างไร?

ผู้เขียนคิดอยู่เสมอว่าทุกๆอย่างย่อมมีผลดีและผลเสีย พอลิงคิดๆดูแล้ว ผู้เขียนนึกไม่ออกเกี่ยวกับผลเสียของการทำสิ่งที่ตัวเองรักเลยสักนิด (ขอเพียงแบ่งเวลาเป็น) การทำให้สิ่งที่ตัวเองรักเองนั้นก็ทำให้ตัวเรามีความสุขกับสิ่งที่ตัวเองทำแล้ว ยังมีประโยชน์ที่เพื่อนผู้อ่านคิดไม่ถึงด้วย ดังนี้

  • ทำให้ผู้ใหญ่มองเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สามารถต่อยอดไปในงานอื่นๆได้
  • เมื่อผู้ใหญ่เห็นความสำคัญจะทำให้มีการไฟเขียวให้คนรุ่นหลังคอสเพลย์กันมากขึ้น (เปิดกว้าง)
  • คุณภาพในการทำชุดจะมีการพัฒนามากขึ้นไปอีก ความเหมือนของชุดจะเพิ่มมากขึ้น จนต่างชาติอิจฉาความสามารถของคอสเพลย์ไทย
  • เป็นไอเดียและแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังๆ เกี่ยวกับความคิดในเชิงศิลปะ เป็นประโยชน์ด้านงานโฆษณาและงานอีเวนท์ต่างๆ
  • เป็นแบบอย่างและแนวคิดที่ดีให้กับชาวคอสเพลยืรุ่นต่อๆไป

ทั้งนี้ทุกๆข้อที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประสพการณ์ของซันจิที่ได้เจอมากับตนเอง เพื่อนๆที่อ่านแล้วมีความคิดเห็นใดๆที่อยากเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดไป คอมเมนท์กันได้เลยนะครับ
ไว้เจอกันครับผม

By Mc-Sanji 

อ่านเรื่องราวข่าวในวงการร่วมพบปะคนคอสเพลย์คลิ๊กที่นี่

The Devil’s Hour ช่วงเวลาปีศาจ ตี 3.33 นาที ที่เต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์เกินคาด!